ประเภทของการขนส่ง
ประเภทของการขนส่ง
ประเภทของการขนส่ง คือ การขนส่งมีความเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น มีวิธีการขนส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเลือกหลายวิธี
ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกวิธีการขนส่งให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง และประเภทของการขนส่งมีกี่ประเภท กี่ชนิดซึ่งสามารถจำแนกการขนส่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
1. การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation)
คือ การขนส่งทางน้ำ เป็นวิธีการขนส่งเก่าแก่มีมาตั้งสมัยโบราณ โดยการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้า รวมถึงการขนส่งทางทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้า
ระหว่างประเทศ การขนส่งทางน้ำนี้เหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ปริมาณมากเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น ทราย แร่ ข้าวเปลือก เครื่องจักร ยางพารา เป็นต้น
ส่วนประกอบของการขนส่งทางน้ำ
|
สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
|
![]() |
ข้อดี ข้อเสียของการขนส่งทางน้ำ มีดังนี้ ข้อดี |
2. การขนส่งทางบก (Road or Motor Transportation)
จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 การขนส่งทางรถไฟ (Railroads) การขนส่งทางรถไฟ เป็นเส้นทางการลำเลียงที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ดำเนินงานโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็น
รัฐวิสาหกิจ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหนักๆ ปริมาณมากและในระยะทางไกล อัตราค่าบริการไม่แพง การขนส่งทางรถไฟจะมีกำหนดเวลาออกและถึงจุดหมายปลายทาง
ในระยะเวลาแน่นอน และมีความปลอดภัยจากการเสียหายของสินค้า
2.1.1 รถปิด คือ รถไฟที่ปิดทุกด้าน เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่เสียหายง่ายเมื่อถูกแดดถูกฝน
2.1.2 รถเปิด คือ รถไฟที่ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่เสียหายเมื่อถูกแดดถูกฝน
2.1.3 รถเฉพาะกิจ คือ รถไฟที่ออกแบบสำหรับใช้เฉพาะงาน เช่น รถบรรทุกน้ำมัน รถบรรทุกปูนซีเมนต์ รถบรรทุกน้ำมัน เป็นต้น – เส้นทางรถไฟ ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ
![]() |
ข้อดี ข้อเสีย
|
2.2 การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) หรือรถบรรทุก (Truck Transportation)
การขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุก ถือว่าเป็นหัวใจของการขนส่งทางบก ทั้งนี้ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการสร้างถนน ขยายถนนเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง
โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ซึ่งการขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุกนั้น สามารถแก้ปัญหาในด้านการจำหน่าย สินค้าของพ่อค้าได้เป็นอันมาก
เพราะการขนส่งสินค้าสะดวด รวดเร็ว สามารถส่งสินค้าไปถึงผู้ใช้ได้โดยตรง
ส่วนประกอบของการขนส่งทางรถยนต์หรือรถบรรทุก
- ผู้ประกอบการ อาจเป็นรัฐหรือเอกชนดำเนินงานก็ได้ หรือเป็นการดำเนินงานร่วมกันก็ได้ เช่น รถยนต์รับจ้าง
- อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ รถยนต์ และรถบรรทุก
- ถนนหรือเส้นทางเดินรถข้อดีข้อเสียของการขนส่งทางรถยนต์
![]() |
ข้อดี 1. บริการได้ถึงที่โดยไม่ต้องมีการขนถ่าย 2. ขนส่งสินค้าได้ตลอดเวลาตามความต้องการของลูกค้า 3. สะดวก รวดเร็ว 4. เหมาะกับการขนส่งระยะสั้นและระยะกลาง 5. เป็นตัวเชื่อมในการขนส่งแบบอื่นที่ไม่สามารถไปถึงจุดหมาย ได้โดยตรง ข้อเสีย |
3. การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)
การขนส่งทางอากาศมีความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศเพราะทำการขนส่งได้รวดเร็วกว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ ไม่เสียเวลาในการขนส่งนาน
สะดวกและปลอดภัย เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น หรือสินค้าต้องการสั่งจองมาด้วยความรวดเร็วแก่การใช้งาน ถ้าล่าช้า
อาจเกิดความเสียหายได้ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากและสินค้าราคาถูกๆ ไม่รีบร้อนในการขนส่ง ซึ่งการขนส่งประเภทนี้ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้รวดเร็ว
ทั้งในและต่างประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายแพงกว่าการขนส่งประเภทอื่น
ส่วนประกอบของการขนส่งทางอากาศ
- ผู้ประกอบการ ได้แก่ บริษัทการบิน ให้บริการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ
- อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ เครื่องบิน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
เส้นทางบิน คือ เส้นทางที่กำหนดจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง มี 2 ลักษณะ คือ- เครื่องบินโดยสาร ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร
- เครื่องบินบรรทุกสินค้า, ให้บริการขนส่งเฉพาะสินค้า
- เครื่องบินแบบผสม, ให้บริการทั้งผู้โดยสารและสินค้าภายในลำเดียวกัน
- เส้นทางในอากาศ
- เส้นทางบนพื้นดิน
- สถานีในการขนส่งหรือทาอากาศยาน เป็นบริเวณที่ใช้สำหรับการขึ้นลงของเครื่องบิน ประกอบด้วย
- อาคารสถานี
- ทางวิ่งและทางขับ
- ลานจอด
![]() |
ข้อดี ข้อเสีย |